fbpx
Image

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต Bachelor of Accountancy Program

หลักการและเหตุผล
          สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีการนำเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์มาใช้ในภาคการผลิตและภาคธุรกิจการเงิน มีการร่วมมือกันระหว่างประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ส่งผลให้การค้า การลงทุนและการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปอย่างเสรี ประเทศไทยก็เป็นสมาขิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) การพัฒนาเศรษฐกิจในทิศทางดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องบริหารจัดการความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และทำให้บุคลากรสาขาวิชาชีพบัญชีเป็นนักบัญชีที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
จากผลกระทบของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเปิดเสรีการบริการวิชาชีพทางด้านบัญชีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มหาวิทยาลัยจึงต้องพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างนักบัญชีในอนาคตที่มีความรอบรู้ มีสมรรถนะเชิงเทคนิคด้านวิชาชีพ (Technical Competence) สามารถบูรณาการศาสตร์ทางการบัญชีกับบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตในด้านคุณธรรม จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผล (Outcome–based Learning)

โอกาสในการประกอบอาชีพ
    1. ด้านการทำบัญชี
    2. ด้านการสอบบัญชี
    3. ด้านการบัญชีบริหาร
    4. ด้านการภาษีอากร
    5. ด้านการวางระบบบัญชี
    6. ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีทางการบัญชี
    7. ด้านการตรวจสอบภายใน
    8. ด้านการเงินการธนาคาร
    9. ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
  ทั้งนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาการบัญชีหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
    2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา/ สาขาวิชาอื่นจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรอง
    3. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาการบัญชีจากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการ และ ก.พ. ให้การรับรอง
    4. ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
    ภาษาไทย : หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Accountancy Program

ชื่อปริญญา
    ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : บัญชีบัณฑิต
    ภาษาไทย (ชื่อย่อ) : บช.บ.
    ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Accountancy
    ภาษาอังกฤษ (ชื่อย่อ) : B.Acc.

รายละเอียดวิชา
    1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
    1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 10 หน่วยกิต
    1.2 กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
    1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
    1.4 กลุ่มวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 2 หน่วยกิต

    2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 100 หน่วยกิต
    2.1 กลุ่มวิชาแกน 36 หน่วยกิต
    2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 36 หน่วยกิต
    2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก 13 หน่วยกิต
    2.4 กลุ่มวิชาโท 15 หน่วยกิต

    3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร 136 หน่วยกิต

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร
 1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
 1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 10 หน่วยกิต
    CIVI 100 อารยธรรมและประวัติศาสตร์ศิลป์ 2(2-0-4)
    ECON 100 เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 2(2-0-4)
    LAWS 102 กฎหมายทั่วไป 2(2-0-4)
    SOCU 100 สังคมและวัฒนธรรม 2(2-0-4)
    TAPS 100 การคิด การสื่อสารและการแก้ปัญหา 2(2-0-4)

1.2 กลุ่มวิชาภาษา จำนวน 12 หน่วยกิต โดยเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้
    ENCO 101 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 3 (2-2-5)
    ENCO 102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 3 (2-2-5)
    ENCO 201 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 3 (2-2-5)
    ENCO 202 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 4 3 (2-2-5)
    THAC 101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 1 3 (1-4-4)
    THAC 102 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2 3 (1-4-4)
    THAC 201 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3 3 (2-2-5)
    THAC 202 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 4 3 (2-2-5)
    ASEN 101 ภาษาอาเซียนเพื่อการสื่อสาร 1 3 (2-2-5)
    ASEN 102 ภาษาอาเซียนเพื่อการสื่อสาร 2 3 (2-2-5)

1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต

    MATH 100 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 2 (2-0-4)
    TECH 100 สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 (2-0-4)
    SCIE 100 สิ่งแวดล้อมกับชีวิต 2 (2-0-4)

1.4 กลุ่มวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม จำนวน 2 หน่วยกิต

    LEAC 100 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 1 1 (0-3-2)
    LEAC 200 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 2 1 (0-3-2)

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 100 หน่วยกิต
2.1 วิชาแกน 36 หน่วยกิต
    ACCT 111 การบัญชีขั้นต้น 1 3(3-0-6)
    ACCT 112 การบัญชีขั้นต้น 2 3(3-0-6)
    BLAW 201 กฎหมายธุรกิจและจริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0-6)
    BUSI 102 หลักการตลาด 3(3-0-6)
    BUSI 103 หลักการจัดการและพฤติกรรมองค์การ 3(3-0-6)
    BUSI 201 การภาษีอากร 1 3(3-0-6)
    BUSI 202 การจัดการระบบสารสนเทศในองค์กร 3(2-2-6)
    BUSI 203 การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจและสถิติธุรกิจ 3(3-0-6)
    BUSI 205 การเงินธุรกิจ 3(3-0-6)
    BUSI 325 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0-6)
    BUSI 326 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ 3(3-0-6)
    ECON 105 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 3(3-0-6)

2.2 วิชาเอกบังคับ 36 หน่วยกิต
    ACCT 211 การบัญชีขั้นกลาง 1 3(3-0-6)
    ACCT 212 การบัญชีขั้นกลาง 2 3(3-0-6)
    ACCT 221 การบัญชีต้นทุน 1 3(3-0-6)
    ACCT 311 การบัญชีขั้นสูง 1 3(3-0-6)
    ACCT 312 การบัญชีขั้นสูง 2 3(3-0-6)
    ACCT 321 การบัญชีต้นทุน 2 3(3-0-6)
    ACCT 331 การสอบบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 341 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 351 การภาษีอากร 2 3(3-0-6)
    ACCT 411 การรายงานทางการเงินและการวิเคราะห์ 3(3-0-6)
    ACCT 431 การควบคุมและการตรวจสอบภายใน 3(3-0-6)
    ACCT 491 การสัมมนาทางการบัญชี 3(3-0-6)

2.3 วิชาเอกเลือก 13 หน่วยกิต
    ACCT 181 การฝึกงาน 1 1(0-6-0)
    ACCT 281 การฝึกงาน 2 3(0-18-0)
    ACCT 381 การเตรียมความพร้อมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 1(1-0-0)
    ACCT 382 การฝึกงาน 3 3(0-18-0)
    ACCT 315 การบัญชีธนาคาร 3(3-0-6)
    ACCT 393 การวิจัยทางการบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 412 ทฤษฎีการบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 413 การบัญชีระหว่างประเทศ 3(3-0-6)
    ACCT 414 การบัญชีหน่วยงานรัฐบาล 3(3-0-6)
    ACCT 421 การบริหารต้นทุน 3(3-0-6)
    ACCT 422 การวางแผนและควบคุมทางบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 423 การวางแผนกำไรและการควบคุม 3(3-0-6)
    ACCT 424 การบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6)
    ACCT 432 การตรวจสอบและควบคุมระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 433 ปัญหาการสอบบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 434 การสอบบัญชีภาษีอากร 3(3-0-6)
    ACCT 441 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบัญชีและโปรแกรมสำเร็จรูปด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การในทางการบัญชี 3(2-2-5)
    ACCT 442 การวางระบบบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 443 ระบบฐานข้อมูลสำหรับการบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 444 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 445 ประเด็นในระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3(3-0-6)
    ACCT 451 การวางแผนภาษีอากร 3(3-0-6)
    ACCT 452 ปัญหาการภาษีอากร 3(3-0-6)
    ACCT 453 การบัญชีเฉพาะกิจการ1 3(3-0-6)
    หรือ
    ACCT 454 การบัญชีเฉพาะกิจการ 2 3(3-0-6)
    หรือ
    ACCT 455 การบัญชีเฉพาะกิจการ 3 3(3-0-6)
    ACCT 481 การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 6(0-40-0)
    ACCT 492 ปัญหาพิเศษทางการบัญชี 3(3-0-6)

2.4 กลุ่มวิชาโท 15 หน่วยกิต
    ACCT 415 การบัญชีธนาคาร 3(3-0-6)
    FINA 361 สถาบันการเงิน 3(3-0-6)
    FINA 362 การเงินส่วนบุคคล 3(3-0-6)
    FINA 363 การจัดการสินเชื่อ 3(3-0-6)
    FINA 364 หลักการประกันภัย 3(3-0-6)
    FINA 461 การวางแผนและควบคุมทางการเงิน 3(3-0-6)
    FINA 462 การวิเคราะห์ตราสารทุน 3(3-0-6)
    FINA 463 การวิเคราะห์ตราสารหนี้ 3(3-0-6)
    FINA 464 การเงินและการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ 3(3-0-6)
    FINA 491 การศึกษาค้นคว้าอิสระ 3(0-0-40)

2.5 หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
    นักศึกษาสามารถเลือกรายวิชาที่สนใจจากต่างคณะฯ หรือสาขาวิชา ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือตามความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้ความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและ/หรือหัวหน้าสาขา
Image